หินที่สนใจ
หินตะกอน คือหินที่เกิดจากการแข็งตัวและอัดตัวของตะกอนเศษหินหรือสารละลายที่ถูกตัว กลางเช่นลมและน้ำพัดพามาและสะสมตัวบนที่ต่ำ ๆ ของผิวโลกหินตะกอนแบ่งเป็น 3 ชนิดตามลักษณะของเนื้อหิน คือ
1 หินตะกอนเนื้อประสม
หินตะกอนแตกหลุด หรือตะกอนเม็ด(Clastic sedimentary rock) หมายถึงหินตะกอนที่ประกอบ ด้วยอนุภาคที่แตกหลุดและพัดพามาจากที่อื่น ๆ เช่น
หิน ดินดาน(Shale) เป็นหินตะกอนแตกหลุดเนื้อละเอียด ประกอบด้วยอนุภาคตะกอนขนาดเล็กกว่า 1/256 มม มักแสดงลักษณะเป็นชั้นๆ ขนานกัน(bed) ประกอบด้วย แร่เขี้ยวหนุมาน แร่ไมก้า(mica) และแร่ดิน(clay mineral) เป็นส่วนใหญ่ขนาดของตะกอนเล็กเกินกว่าที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ในเมืองไทยพบอยู่ทั่วไปเช่นแถบจังหวัดชลบุรี นครศรีธรรมราช ยะลา และกาญจนบุรี และส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หินทราย(Sandstone) เป็นหินตะกอนแตกหลุดที่ประกอบด้วยอนุภาคตะกอนขนาดตั้งแต่ 1/16 - 2 มม (คือเท่าเม็ดทราย) เม็ดทรายมักมีลักษณะกลมแสดงถึงการกัดกร่อนและการพัดพา แร่เขี้ยวหนุ-มานเป็นแร่ที่พบบ่อยในหินแต่อาจมีแร่ฟันม้า แร่โกเมน (garnet) และแร่ไมก้าปะปนอยู่ด้วย บางครั้งแสดงลักษณะเป็นชั้น ๆ ชัดเจน สีแดง ๆของหินแสดงว่าหินมีตัวเชื่อมประสาน(Cement) เป็นพวกเหล็ก ในเมืองไทยพบแทบทุกจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ นครพนม และสกลนคร
หินกรวด(Conglomerate) เป็นหินตะกอนแตกหลุดที่ประกอบด้วยอนุภาคตะกอนขนาดใหญ่กว่า 2 มม (คือใหญ่เท่าเม็ดทราย)ที่ยึดเกาะกันแน่นอยู่ภายใน เนื้อหินที่ประกอบด้วยตะกอนทรายและทรายแป้ง (silt) เม็ดตะกอนมักมีลักษณะกลมมนและมีความคงทนสูง เช่นแร่เขี้ยวหนุมาน และหินควอทไซท์ แต่อาจจะประกอบด้วยหินปูนและหินแกรนิตได้ เมืองไทยพบไม่มากนักอาจมีบ้างเช่นที่จังหวัดกาญจนบุรี ระยอง และลพบุรี
2 หินตะกอนเคมี
หิน ตะกอนเคมี(Chemical หรือ Nonclastic sedimentary rock) หมายถึง หินตะกอนที่เกิดจากการตกผลึกจากสารละลายที่พัดพามาโดยน้ำ ณ อุณหภูมิต่ำเช่น
หิน ปูน(Limestone) เป็นหินตะกอนเคมีที่ประกอบด้วยผลึกแร่คัลไซท์(calcite) เป็นส่วนใหญ่ บางครั้งอาจมีซากบรรพชีวิน (fossils) อยู่ด้วย โดยมากแสดงลักษณะภูมิประเทศเป็นยอดเขาสูงผนังชั้นหลาย ๆ ยอดซ้อนกัน เนื่องจากได้รับอิทธิพลของการกัดเซาะและการละลายโดยน้ำ เมืองไทยพบมากแถบจังหวัดสระบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พังงา และชุมพร
หิน เกลือ(Rock Salt) เป็นหินตะกอนเคมีที่ประกอบด้วยผลึกแร่เกลือหิน(halite) โดยปกติมักมีเนื้อเนียน มีสีขาวใส หรือไม่มีสี แต่อาจมีสีต่าง ๆ ได้ เช่น สีส้ม เหลือง แดง เนื่องจากมีมลทินของสารจำพวกเหล็กปนอยู่เมืองไทยพบมากในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่น จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา และขอนแก่น
ถ่าน หิน(Coal) เป็นหินตะกอนอินทรีย์ สีดำ มันวาว ทึบแสงและไม่เป็นผลึก ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ที่อัดกันแน่นจนกลายเป็นสภาพหิน เมืองไทยที่พบมากเป็นถ่านหินขั้นต่ำ เช่น บริเวณแถบจังหวัดลำปาง กระบี่ แพร่ สงขลา และเลย
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://deaw12.exteen.com/20080824/sedimentary-rocks
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก